วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติของยูยิตสู

          .              




   ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป


          ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นมีการบันทึกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้มายาวนานมาก ทั้งใน ประวัติศาสตร์ และตำนานพื้นบ้าน  เช่นเรื่องที่รู้จักกันโดยทั่วไปเกี่ยวกับ
นักรบ “โนมิ โน เซคูนิ” แห่ง “อิซูโม่” ที่เอาชนะและสังหาร “ทาจิม่า โน เคเฮาย่า” ในจังหวัดชิมาเนะ ต่อหน้าพระพักตร์ของจักรพรรดิ ซุยนิน ซึ่งเทคนิคต่อสู้ที่ “โนมิ โน เซคูนิ” ใช้นั้นประกอบด้วยการต่อย เตะ ทุ่ม และกดล็อคคู่ต่อสู้ รวมทั้งใช้อาวุธชนิดต่างๆ ด้วยลักษณะการต่อสู้กับอาวุธด้วยมือเปล่าชนิดนี้ ภายหลังเริ่มเป็นที่รู้จักกันในนามของ “นิฮอนโคริวจัทสึ” หรือศาสตร์ต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในหลากหลายแขนงของศิลปะการต่อสู้ในยุค “มูโรมาชิ” ( ค.ศ. 1333-1573 )  ตามที่มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ทั้งหมดนี้กล่าวถึงรูปแบบการต่อสู้ในสนามรบที่สามารถใช้อาวุธชนิดต่างๆได้หลากหลาย ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้มีชื่อเรียกขานต่างๆ กันดังนี้ “โคกุโซคุ” , ยาวาระ” และ ‘ฮาคุดะ” ซึ่งศิลปะต่อสู้เหล่านี้รวมๆ เรียกว่า “เซงโกคุ จูจัทสึ” (Sengoku Jujutsu) ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยใช้มือเปล่า และการใช้อาวุธเบากับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธหนัก หรือมีเกราะป้องกันตัวในสนามรบ
          ศาสตร์ “เซงโกคุ จูจัทสึ” ประกอบด้วยการต่อย เตะ การทุ่ม โดยใช้ร่างกาย การหักข้อต่อ หรือการทำให้คู่ต่อสู้เสียสมดุลในการทุ่ม การกด ล็อค รัดคอ การกอดปล้ำ รวมถึงการปัด หลบหลีก และการหลบหนี มีการใช้อาวุธเบาต่างๆ ได้แก่ มีดสั้น (Tanto), โซ่ลูกตุ้ม (Ryufundo Kusari), ค้อนสำหรับทุบหมาวกเกราะ (Kabuto Wari), อาวุธลับ (Kakushi Buki) ทั้งหมดนี้คือจุดเริ่มต้นของวิชาการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้น ยังไม่บัญญัติคำว่า “ยูยิตสู”
          ต่อมาศิลปะการต่อสู้โบราณญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาในยุคสมัยเอโดะ เรียกว่า “เอโดะ ยูยิตสู” (Edo Jujutsu) ซึ่งได้ถูกคิดค้นไว้ใช้กับคู่ต่อสู้ที่ไม่ได้สวมใส่เกราะ หรืออยู่ในชุดการแต่งกายธรรมดา “เอโดะ ยูยิตสู” จะเน้นเทคนิคการเตะ และต่อยตรงจุดสำคัญของร่างกาย ซึ่งก็คือศาสตร์การต่อสู้ในท่ายืน “อเตมิ วาซ่า” (Atemi Waza)  และ มีการใช้อาวุธเบา และเล็กที่สามารถเก็บซ่อนไว้ตามร่างกายได้ เช่นมีดสั้น (Tanto) และพัดเหล็ก (Tessen) 
          ยังมีอีกศาสตร์หนึ่งที่ในอดีตได้พัฒนาการใช้เชือกที่เรียกว่าเชือกโฮจุ (Hojuchord) ซึ่งถูกรวมไว้ในทั้งเซงโกคุ ยูยิตสู (Sengoku Jujutsu) และ “เอโดะ ยูยิตสู” (Edo Jujutsu) ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า “โฮโจ้ วาซ่า” (Hojo Waza) หรือ “โฮโจจัทสึ” (Hojo Jutsu) “นาวะจัทสึ” (Nawa Jutsu) และ “ฮายานาวะ” (Haya Nawa) เชือกโฮจุนี้จะใช้สำหรับการมัดหรือการรัดคอคู่ต่อสู้ ถึงแม้เทคนิคนี้ได้เสื่อมความนิยมลงสำหรับยูยิตสูทั่วไปในปัจจุบันแต่หน่วยตำรวจของกรุงโตเกียวยังได้รับการฝึกเทคนิคนี้ และตำรวจยังพกเชือกชนิดนี้ไว้คู่กับกุญแจมือ


          ประวัติศาสตร์การต่อสู้และการเจริญก้าวหน้าของการต่อสู้ถือเป็นความเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับประเทศญี่ปุ่นและกลายเป็นศิลปะประเพณีส่วนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่โด่งดังในแวดวงของตะวันออกในสมัยนั้น จนเป็นที่กล่าวขานกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชน และทำความสนใจแก่ผู้สนใจในความรู้ด้านการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ทำให้วิชาการต่อสู้ยูยิตสูโด่งดังและแพร่หลายมาก ทำให้เกิดการพัฒนาคิดค้นศิลปะป้องกันตัวหลายประเภทเช่น  ยูโด,ไอคิโด และฮับกิโด  
          ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกญี่ปุ่นได้เดินทางไปทางตะวันตก และมีบุคคลกลุ่มใหญ่เดินทางไปประเทศบราซิล มีผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งได้ปักหลักอาศัยอยู่ในบราซิลและเริ่มสอนวิชายูยิตสูเป็นครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น อันเป็นภัยอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น แต่วิชายูยิตสูก็ได้รับความสนใจมีผู้นิยมกันกว้างขวาง ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนาม “บาซิลเลียนยูยิตสู” และนับจากนั้นมา ยูยิตสูก็ได้รับการพัฒนารูปแบบต่างๆ ประเทศต่างๆในยุโรปและอเมริกา นำไปฝึกฝนและจัดเป็นการแข่งขัน โดยกำหนดกฎกติกาเพื่อความปลอดภัย และขยายตัวแปลงในรูปแบบต่างๆ วิชายูยิตสูเป็นกีฬาการแข่งขันประเภทหนึ่ง และมีผู้นิยมกันอย่างกว้างขวาง 


แหล่งอ้างอิงจาก: 
http://www.jujitsuthai.com/index.php/syllabus


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น